
7 ขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างคิวซี
(7 Steps of QC Story)
1. การค้นหาปัญหา/คัดเลือกหัวข้อ
ปัญหาคืออะไร | ปัญหาคือสิ่งผิดปกติ ปัญหาคือความทุกข์ ปัญหาคือสุขไม่เต็มอิ่ม ปัญหาคือสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ |
จะหาปัญหาได้อย่างไร | ระดมสมองจากสมาชิกกลุ่มสอบถามหน่วยงานถัดไปสอบถามจากลูกค้านโยบายขององค์การ |
จะเลือกปัญหาใดมาแก้ไข | สิ่งที่เราเดือดร้อนมากที่สุดให้สมาชิกกลุ่มเลือกกำหนดมาตรการหรือเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ |
ปัญหาที่ควรนำมาแก้ไขก่อน | เป็นปัญหาของหน่วยงานของเราเราเดือดร้อนเพราะปัญหานั้นเป็นปัญหาแท้จริง มีข้อมูลสนับสนุนเป็นปัญหาไม่ใหญ่นัก |
การกำหนดหัวข้อเรื่องของปัญหา | เพื่อลดและขจัดปัญหาต้องชัดเจนและสื่อความหมาย อาทิ ลดเวลาปฏิบัติงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดอุบัติเหตุจากการทำงาน |
2. การสำรวจสภาพปัจจุบันและตั้งเป้าหมาย
ปัญหาต้องเป็นความจริง ไม่ใช่ความรู้สึก | รวบรวมข้อมูลสนับสนุนปัญหาข้อมูลสถิติคือความจริงความจริงอาจไม่เหมือนกับสิ่งที่คิดไว้สิ่งที่คิดไว้อาจคิดจากประสบการณ์หรือความรู้สึก |
ข้อมูลสถิติประกอบด้วย | ข้อมูลตัวเลข (Data)ข้อมูลข่าวสาร (Information) |
ข้อมูลสภาพปัจจุบัน | ต้องมีมากพอที่จะชี้ปัญหาสามารถชี้ปัญหาได้ชัดเจนต้องเป็นความจริง ไม่ใช่คิดเอาเองหรือประมาณการ |
การกำหนดเป้าหมาย | เพื่อวัดความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาต้องเป็นตัวเลขวัดได้ต้องมีข้อมูลสนับสนุน ต้องมีเหตุมีผล ไม่ใช่การคาดคะเน ต้องบรรลุเป้าหมายในเวลาที่กำหนด |
3. การวางแผนกิจกรรม
การวางแผน | กำหนดว่าจะทำอะไรบ้างจัดทำตารางกำหนดการและแบ่งความรับผิดชอบ |
4. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ | วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลข (ใช้การจำแนกข้อมูล ตารางตรวจสอบ แผนภูมิพาเรโต้ ฯลฯ)การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร (เช่น แผนภูมิก้างปลา) |
การวิเคราะห์หาสาเหตุ | ต้องเป็นสาเหตุที่แท้จริงสามารถแก้ไขได้เองสาเหตุที่นำมาแก้ไข ต้องไม่ขัดนโยบาย (ไม่เป็นเรื่องของหน่วยงานอื่น) |
ต้องมีการพิสูจน์สาเหตุที่จะนำมาแก้ไข | สาเหตุที่จะนำมาแก้ไขต้องเป็นต้นเหตุต้องแสดงวิธีพิสูจน์ต้นเหตุการพิสูจน์ต้นเหตุที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือใช้ความจริงและข้อมูล (Fact and Data) |
มีการกำหนดมาตรการแก้ไข “ต้นเหตุ” | ควรมีการทดลองปฏิบัติก่อนควรเป็นมาตรการไขใหม่มาตรการแก้ไขควรแยบยลและชาญฉลาด |
5.การกำหนดมาตรการแก้ไขและการปฏิบัติ
พิจารณามาตรการแก้ไขปัญหา | นำเสนอแนวคิดสำหรับมาตรการแก้ไขร่วมกันพิจารณาว่าจะนำมาตรการใดไปใช้ตรวจสอบรายละเอียดของมาตรการแก้ไขให้รอบคอบนำมาตรการแก้ไขไปปฏิบัติ |
6. การตรวจสอบผล
การตรวจสอบผล | รวบรวมข้อมูล (ตัวเลข) หลังการแก้ไขนำมาเปรียบเทียบกับก่อนการแก้ไขข้อมูลหลังการแก้ไขควรมีมากพอที่จะตรวจสอบผลลัพธ์ข้อมูลหลังการแก้ไขควรมีจำนวนเท่ากันกับข้อมูลก่อนการแก้ไขการนำเสนอข้อมูลก่อนและหลังการแก้ไข ควรใช้เครื่องมือ (Tools) เดียวกันมีการแยกผลทางตรงกับผลทางอ้อมให้ชัดเจนผลทางอ้อมควรแสดงให้เป็นรูปธรรมมีการเปรียบเทียบผลทางตรงกับเป้าหมายให้ชัดเจน |
7. การกำหนดมาตรฐานปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรฐาน | เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นมาอีกเพื่อยกระดับคุณภาพ/ประสิทธิภาพการทำงาน |
มาตรฐานต้องสรุปมาจากวิธีการแก้ไขปัญหา | มาตรฐานไม่ใช่มาตรการมาตรฐานไม่ใช่ผลลัพธ์ |
มาตรฐานต้องชัดเจนและสื่อความหมาย | ทุกคนปฏิบัติได้เหมือนกันมีข้อมูล (ตัวเลข) กำกับ |
กำหนดวิธีควบคุม | ผู้เกี่ยวข้องทำความคุ้นเคยในมาตรฐานใหม่ฝึกอบรมให้กับบุคคลที่ต้องนำไปปฏิบัติติดตามประเมินผลเพื่อให้มั่นใจว่ามีการธำรงรักษาคุณประโยชน์ |