
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต: บธ.บ.
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration: B.B.A
ปรัชญา
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยความเชี่ยวชาญในด้านการเงินและการธนาคาร การจัดการ และการตลาด โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะเป็นบัณฑิตที่มีความรู้ด้านบริหารธุรกิจตามแนวทางความรู้ระดับสากลและมีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากหลักสูตรเพื่อการบริหารธุรกิจในประเทศให้ก้าวหน้าได้อย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม บัณฑิตจะเป็นผู้มีความสามารถรอบรู้ในด้านของวิชาการ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการใช้ภาษา และจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ในการติดตามหรือแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ หรือวิกฤตในระบบเศรษฐกิจได้ นอกจากนั้นหลักสูตรนี้ยังมุ่งสร้างให้บัณฑิตมีทักษะของการคิดในเชิงบูรณาการความรู้ต่างๆ มีทักษะการเรียนรู้ และใฝ่การเรียนรู้ บัณฑิตที่สำเร็จจากหลักสูตรจะเป็นผู้ที่มีมุมมองทางบวก มีความคิดสร้างสรรค์ ความมั่นคงในตนเอง เข้าใจและซึมซับในอารยธรรมไทย มองเห็นประโยชน์โดยส่วนรวม มีจิตอาสา มีคุณธรรมและจริยธรรม
วัตถุประสงค์
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตที่ปรับปรุงใหม่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- มีความรู้ทางวิชาการของหลักการบริหารธุรกิจที่เป็นสากล ทันสมัยต่อเหตุการณ์และเหมาะสมกับสังคมไทย
- มีความรู้รอบในวิชาการซึ่งนำไปสู่การบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นสากล เช่น มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการใช้ภาษา เป็นต้น
- เป็นผู้มีทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เป็นวิกฤตด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ
- เป็นผู้มีความรู้รอบที่นำไปสู่การดำรงตนในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถใช้ความรู้รอบ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการได้อย่างเหมาะสม
- เป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตอาสา
วิชาเอก
การเงินและการธนาคาร การจัดการ และการตลาด
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
หลักสูตร BA 2560 (139 หน่วยกิต) หลักสูตร BA 2563 (138 หน่วยกิต)
รูปแบบของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
โครงสร้างหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- หลักสูตร BA 2560 (สำหรับ นศ.รหัส 6015..-6415…)
- ส่วนหลักสูตร BA 2563 (สำหรับนักศึกษารหัส 6315… – 6715…)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา (สัมพันธ์กับสาขาวิชา)
แผนการเงินและการธนาคาร
- พนักงานสายการเงินของบริษัท พนักงานอำนวยการสินเชื่อ พนักงานบริหารเงิน ในสายการธนาคาร
- นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ วาณิชธนกร ในสายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจ
- ผู้จัดการกองทุน ในสายการจัดการลงทุน
- ทำงานในหน่วยงานภาคเอกชน เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทประกัน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์
- ประกอบกิจการส่วนตัว
แผนการจัดการ
- นักบริหารและนักวางแผนในบริษัทข้ามชาติ บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก
- ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานการศึกษา
- ประกอบกิจการส่วนตัว
แผนการตลาด
- นักพัฒนาผลิตภัณฑ์
- เจ้าหน้าที่สื่อสารการตลาด
- พนักงานขายและผู้บริหารหน่วยงานขาย
- นักวิจัยตลาด
- เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์
- ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานการศึกษา
- ประกอบกิจการส่วนตัว
กำหนดการรับสมัคร
ตามประกาศของมหาวิทยาลัย (https://www3.reg.cmu.ac.th/ugradapply)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
หลักสูตรภาคปกติ เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 15,000 บาท
หลักสูตรพิเศษ เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 28,000 บาท
การจัดการเรียนการสอน
ภาคปกติ เรียนในวันเวลาราชการ
วันจันทร์ วันอังคาร วันพฤหัสบดี วันศุกร์ เวลา 08.00 -15.30 น.
ภาคพิเศษ เรียนนอกเวลาราชการ
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 16.30 – 19.30 น. วันเสาร์ เวลา 09.00 – 16.00 น.