นโยบายส่งเสริมสนับสนุนด้านการวิจัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. นโยบายส่งเสริมด้านการวิจัย
ภาพรวมงานวิจัยคณะบริหารธุรกิจ
ปัจจุบันคณะบริหารธุรกิจ ได้มีนโยบายเพื่อมุ่งเน้นการวิจัย สร้างองค์ความรู้ชั้นสูง และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีกระบวนการของการพัฒนางานวิจัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การสร้าง (Creating) การพัฒนา (Developing) และการเผยแพร่ (Delivering) ในกระบวนการแรก คือ Creating ได้แก่ การสร้างนักวิจัย การสร้างองค์ความรู้ และการแสวงหาแหล่งทุน ทั้งภายในและนอกประเทศ และมีการพัฒนาคุณค่างานวิจัย (Developing) ได้แก่ การวิจัยที่สนับสนุนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดทางด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เศรษฐกิจ สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น และศักยภาพพื้นที่ และไปสู่กระบวนการขั้นสุดท้าย (Delivering) คือ การเผยแพร่องค์ความรู้ โดยมีการนำผลงานวิจัยเผยแพร่สู่ชุมชน นำผลงานวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอน รวมทั้งสิ่งที่เป็นเป้าหมายหลักที่จะทำให้การวิจัยเป็นที่รับรู้ก็คือการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
คณะบริหารธุรกิจ ประกอบด้วยภาควิชาการเงิน ภาควิชาการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ ภาควิชาการตลาด และภาควิชาการบัญชี ซึ่งถือเป็นหัวใจทางด้านวิชาการของการบริหารธุรกิจ ในอดีตที่ผ่านมา คณะฯ ได้มีการสนับสนุนงานวิจัยให้มีการทำงานวิจัยทางด้านการเงิน การจัดการ การตลาด และการบัญชี แต่งานวิจัยยังไม่ได้มีการบูรณาการที่เป็นรูปธรรม และไม่มีเป้าหมายของการทำวิจัยที่เฉพาะเจาะจงและมีความชัดเจน ดังนั้นคณะบริหารธุรกิจ จึงได้กำหนดทิศทางใหม่ที่มีการบูรณาการมากขึ้น เริ่มจากการสร้างองค์ความรู้ใน 4 สาขาวิชาหลักของการบริหารธุรกิจเป็นพื้นฐาน แล้วจึงพัฒนาการวิจัยต่อไป เพื่อให้มีการสร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปตอบปัญหาของสังคมได้ เมื่อวิเคราะห์จากศักยภาพของพื้นที่ทางภาคเหนือ คณะฯ เห็นว่าทิศทางของงานวิจัยควรจะมุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน โดยมุ่งประเด็นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมไมตรีจิต (Hospitality Cluster) ได้แก่ สปา โรงแรม การท่องเที่ยว ร้านอาหาร และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้มีความต้องการบริหารจัดการที่ยั่งยืนเนื่องจากเสี่ยงต่อการที่จะถูกทำลายในระยะยาวเป็นอย่างมาก โดยจะมีการบูรณาการ 4 สาขาวิชาหลัก และร่วมกับคณะต่าง ๆ หรือสถาบันอื่น ๆ เพื่อดำเนินงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คณะฯ ได้กำหนดทิศทางงานวิจัยหลักไว้ 9 Themes ดังนี้
- กลุ่มบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ (Business in Aging Society Group)
- กลุ่มบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเพศและช่วงวัยของประชากร (Gender and Generation Study Group)
- กลุ่มนวัตกรรมเชิงสังคมและธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Social Innovation and Business Sustainability Group)
- กลุ่มบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและหัวข้อวิจัยที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและภาคเหนืออีก 11 หัวข้อ (AEC Business Study Group)
- กลุ่มนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy Innovation)
- กลุ่มนวัตกรรมด้านอาหารและสุขภาพ และผู้สูงอายุ (Food & Health, and Aging Innovation)
- กลุ่มนวัตกรรมล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna)
- กลุ่มวิจัยที่เป็นเลิศและสร้างนวัตกรรม (Research Excellence and Innovation)
- กลุ่มบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม (Cooperate Social Responsibility: CSR)
นอกจากนี้ เพื่อให้การเผยแพร่งานวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยังมีการบูรณาการในแง่ของหลักสูตร การบริการวิชาการ การวิจัย และการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น การจัดประชุมทางวิชาการเพื่อบริการชุมชนให้แก่ผู้ประกอบการ สามารถทำวิจัยควบคู่ไปด้วยโดยเก็บข้อมูลวิจัยแบบสอบถามจากผู้ร่วมประชุม และได้งานวิจัยซึ่งสามารถนำมาพัฒนาการเรียนการสอนได้ด้วย
รวมทั้ง คณะฯ ได้มีนโยบายปรับโครงสร้างของหลักสูตรปริญญาโททุกหลักสูตรเพื่อให้มีจุดเด่น และมีความเฉพาะทางมากขึ้น และรวมถึงการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระของนักศึกษาปริญญาโทให้สอดคล้องกับทิศทางและนโยบายวิจัยของคณะฯ ด้วย
ภาพที่ 2 การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนและบริการวิชาการแก่ชุมขน
กลไกที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการบูรณาการงานวิจัยกับการบริการวิชาการสู่สังคม คือ การจัดตั้งองค์กรในกำกับของคณะบริหารธุรกิจ “ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ (Management Innovation Center: MIC)” เพื่อเป็นศูนย์กลางวิชาการความรู้ด้านการบริหารจัดการองค์กร และภาคธุรกิจด้านนวัตกรรมการจัดการในพื้นที่ ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายองค์ความรู้ทางวิชาการ โดยผ่านกระบวนการวิจัย การจัดการศึกษา การฝึกอบรม ตลอดจนการปฏิบัติในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนต่าง ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตลอดจนถึงเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ภาคเหนือ
ภาพที่ 3 องค์กรในกำกับของคณะบริหารธุรกิจ
ศูนย์นวัตกรรมการจัดการ (Management Innovation Center : MIC)
จากที่กล่าวมาข้างต้น คือ ภาพทิศทางงานวิจัยของคณะบริหารธุรกิจ แต่ว่าทำอย่างไรที่จะนำทิศทางและนโยบายของคณะฯ ลงสู่การปฏิบัติได้ ส่วนหนึ่งที่คณะฯ ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ของคณะฯ โดยมีการประชุมและมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่หรืออาจารย์ในคณะฯ และจากข้อมูลงานวิจัยของคณะฯ พบว่า ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา มีบุคลากรในคณะฯ ที่ทำวิจัยเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่า บุคลากรได้มีการสร้างการรับรู้เรื่องของงานวิจัย และเห็นความสำคัญของงานวิจัยแล้ว แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดคุณภาพและเกิดความเข้มแข็งด้านวิชาการได้ จุดอ่อนอย่างหนึ่งในการทำวิจัยของบุคลากรในคณะฯ คือ งานวิจัยที่ทำยังมีการตีพิมพ์ทางวิชาการน้อยมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ ทั้งนี้ผลงานที่จะตีพิมพ์ได้ จะต้องอยู่ในระดับที่ทางด้านทฤษฎีต้องเข้มแข็ง รวมทั้งการจัดสัมมนาวิชาการ ฝึกอบรม บรรยายวิชาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านงานวิจัยและพัฒนาด้านการเรียนการสอน การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge management) การวิจัยเพื่อสร้างกรณีศึกษาและการนำกรณีศึกษามาใช้ในการเรียนการสอน ประชาสัมพันธ์ทุนวิจัยจากเงินรายได้ของคณะฯ แบบเชิงรุก โดยบุคลากรฝ่ายวิจัย ได้จัดทำ TOR เพื่อกำหนดขอบเขตงานวิจัยที่คณะฯ ต้องการ และกระตุ้นให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของคณะฯ เสนอแผนการดำเนินวิจัยมาขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยของคณะฯ ในด้านการส่งเสริมความร่วมมือทำวิจัยกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศก็ได้ดำเนินการติดต่อกับมหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรในต่างประเทศเพื่อกำหนดหัวข้อวิจัยร่วมกัน รวมทั้งมีการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางบริหารธุรกิจ เป็นต้น
1. การจัดสรรงบประมาณวิจัย
ภาพที่ 4 การจัดสรรงบประมาณวิจัยเงินรายได้คณะฯ ด้านการวิจัย
คณะฯ ได้จัดสรรงบประมาณรายได้คณะฯ ด้านการวิจัยเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 59 เพื่อลงทุนให้เกิดงานวิจัยเป็นทุนในการทำวิจัยของคณาจารย์ ประมาณร้อยละ 24 สำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อเป็นค่าสมนาคุณในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและทุนในการนำเสนอผลงานวิจัย และร้อยละ 13 สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการวิจัย เพื่อจัดซื้อโปรแกรมสถิติด้านการวิจัยและสนับสนุนนักวิชาการต่างประเทศเป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาด้านการวิจัย ร้อยละ 3 สำหรับการฝึกอบรมสัมมนาด้านการวิจัย และร้อยละ 1 สำหรับการบริหารงานวิจัยฝ่ายวิจัย
สำหรับกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยตามทิศทางที่กำหนด ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่
- แหล่งทุน
- แหล่งทุนภายใน
- แหล่งทุนภายนอก อาทิ ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ
- ทรัพยากรด้านการวิจัย จัดสรรงบประมาณ 2 ใน 3 ของงบประมาณแผนงานวิจัยส่วนกลาง
- การจัด workshop เพื่อเริ่มต้นหรือพัฒนางานวิจัย โดยการสร้างกลุ่มวิจัย สนับสนุนกลุ่มวิจัยในการทำข้อเสนอโครงการ สนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่, Post-Doctoral
- การจัดสรรทุนวิจัยภายใน สำหรับภาควิชา และส่วนกลาง เพื่อพัฒนางานวิจัยสถาบัน โดยส่งเสริมให้อยู่ใน 9 หัวข้อ
- สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และผู้ช่วยวิจัย
- กระบวนการด้านการวิจัยและการเรียนรู้ร่วมกัน (KM) จัดสรรงบประมาณ 1 ใน 3 ของงบประมาณแผนงานวิจัยส่วนกลาง
- กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัย
- การจัดทำ Workshop สำหรับกลุ่มวิจัย การสร้างเครือข่ายร่วมกับสถาบันองค์กรภายนอก
- การอบรม Training/Research talk โดยหัวข้อที่จัดอบรมแต่ละปี ขึ้นกับความต้องการของบุคลากรในคณะฯ เช่น
- การตีพิมพ์ผลงานวิชาการระดับนานาชาติ
- งานวิจัยเชิงคุณภาพ
- การอบรมสถิติการวิจัย
- การจัดงานประชุมวิชาการ Conference ปีละ 1 ครั้ง
- กระบวนการบริหารงานวิจัย
- ฐานข้อมูลวิจัย / การสำรวจความพึงพอใจการสนับสนุนงานวิจัย ปีละ 1 ครั้ง
- ฐานข้อมูลแหล่งทุนวิจัย
- การพัฒนา IS / THESIS เป็นงานวิจัย
- กระบวนการจูงใจด้านการวิจัย
- เงินรางวัลตีพิมพ์ ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ
- เงินสนับสนุน
- นำเสนองานวิจัยระดับนานาชาติ (Full Paper)
- พัฒนาข้อเสนอโครงการ (ใน/ต่างประเทศ)
- การสนับสนุน Mentor นักวิชาการต่างประเทศ
- การสนับสนุนด้านการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการวิจัย อาทิ Fulltext paper, Software
- กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัย
- แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัย/บทความวิชาการ
- ภายในคณะ มีการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติของคณะทุกปี
- ภายนอกคณะ
- Academic Journal ในฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ยอมรับและฐานข้อมูลนานาชาติที่ยอมรับในวงวิชาการ เช่น Scopus ฯลฯ มีการปรับปรุงข้อมูลวารสารที่ได้รับการยอมรับจำนวน 6,625 รายชื่อ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ทำการปรับปรุงโดยการเลือกวารสารที่เป็นบทความวิจัย และเป็นวารสารด้านบริหารธุรกิจและวารสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งตรวจสอบเพื่อคัดกรองความซ้ำซ้อนของวารสาร ซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลวารสารด้านบริหารธุรกิจและวารสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ฐานข้อมูล รายละเอียดดังนี้
- ระดับชาติ: TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) – Tier 1; Tier 2
- ระดับนานาชาติ: ScienceDirect, ABS(The Association of Business Schools), ABDC(Australian Business Deans Council), Web of Science(Science Citation Index Expand, Social Sciences Citation Index, Art and Humanities Citation Index), Scopus, Scimago, Social Science Research Network and Cabell-Have Impact Factor
- Academic Journal ในฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ยอมรับและฐานข้อมูลนานาชาติที่ยอมรับในวงวิชาการ เช่น Scopus ฯลฯ มีการปรับปรุงข้อมูลวารสารที่ได้รับการยอมรับจำนวน 6,625 รายชื่อ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ทำการปรับปรุงโดยการเลือกวารสารที่เป็นบทความวิจัย และเป็นวารสารด้านบริหารธุรกิจและวารสารที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งตรวจสอบเพื่อคัดกรองความซ้ำซ้อนของวารสาร ซึ่งประกอบด้วยฐานข้อมูลวารสารด้านบริหารธุรกิจและวารสารที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 ฐานข้อมูล รายละเอียดดังนี้
- การนำเสนอผลงานวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซด์คณะฯ หรือ เว็ปไซด์ Conference Alert
- การส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ โดยสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิชาการ/หนังสือ/ตำรา กับสำนักพิมพ์หรือองค์กรที่มีคุณภาพ เช่น โรงพิมพ์จุฬาฯ และมีการอ้างอิงทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การขอ ISSN ISBN เป็นต้น
2. การดำเนินการสนับสนุนด้านการวิจัย
คณะบริหารธุรกิจได้สนับสนุนให้คณาจารย์ดำเนินงานวิจัยเพื่อเสริมสร้างรากฐาน การวิจัยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ชั้นสูงและผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ส่งเสริมและการพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่องโดยสนับสนุนงบประมาณ จัดการฝึกอบรม สัมมนาให้กับบุคลากรในสังกัด สนับสนุนให้คณาจารย์เข้ารับการฝึกอบรม รวมทั้งนำเสนอผลงานวิจัย และเผยแพร่งานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
คณะบริหารธุรกิจได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิจัยคณะบริหารธุรกิจ ประกอบด้วย ผู้แทนอาจารย์จากทุกภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการเงิน, ภาควิชาการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ ภาควิชาการตลาด และภาควิชาการบัญชี มีหน้าที่ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานวิจัยเพื่อให้สอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันด้านการวิจัย เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติการ นโยบายด้านการวิจัย รวมทั้งกลั่นกรองและพิจารณางานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากเงินรายได้ของคณะฯ และการจัดทำกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
นอกจากนั้น ยังได้กำหนดให้มีกลไกในการบริหารจัดงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัย ซึ่งคณะได้กำหนดให้มีกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
- จัดการประชุมร่วมกับคณาจารย์ในคณะเพื่อหาทิศทางในการดำเนินงานวิจัยเฉพาะทางและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ โดยเน้นกลยุทธ์การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว รวมทั้งอุตสาหกรรมบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม สปา ของที่ระลึก เป็นต้น
- จัดทำ TOR เพื่อให้คณาจารย์เขียนข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนทุนวิจัยในเชิงประยุกต์ตลอดจนการวิจัยการจัดทำกรณีศึกษา โดยมีงบประมาณสนับสนุนจากเงินรายได้ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางงานวิจัยของคณะรวมทั้งคณะได้มีการจัดส่งคณาจารย์เพื่อเป็นตัวแทนกับ สกอ. ในการอบรมการเขียนกรณีศึกษา และมาเป็นวิทยากรเพื่ออบรมการเขียนกรณีศึกษาให้กับคณาจารย์ในสถาบันอื่นในเขตภาคเหนือเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
- จัดทำคู่มือการบริหารงานวิจัย แบบฟอร์มต่างๆ ในการขอทุนสนับสนุนจากเงินรายได้ของคณะเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคณาจารย์ และมีความเป็นมาตรฐาน
- สนับสนุนการดำเนินงานเป็นกลุ่มวิจัยเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางงานวิจัย และมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายใน ภายนอกสถาบัน รวมทั้งหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งคณะบริหารธุรกิจได้มีการริเริ่มให้เกิดกลุ่มวิจัยด้านอุตสาหกรรมไมตรีจิต โดยการสร้างองค์ความรู้ ด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นที่ปรึกษาในการทำวิจัย กระตุ้นให้บุคลากรอ่าน Academic paper และกระตุ้นให้มีการตีพิมพ์นานาชาติ โดยคณะสนับสนุนทุนให้กับบุคลากรเพื่อเชิญที่ปรึกษาโครงการวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ (Mentor)
- สนับสนุนให้บุคลากรดำเนินการวิจัย โดยมีงบสนับสนุนจากภายในสถาบันและส่งเสริมให้ขอรับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก
- จัดฝึกอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิจัย เช่น การอบรมสถิติด้านวิธีการวิจัย SEM, การจัดอบรม Research talk เพื่อตอบโจทย์หรือให้ความรู้ต่อยอดงานวิจัย และงานวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม การฝึกอบรมสถิติด้วย SPSS
- สนับสนุนการเผยแพร่และตีพิมพ์ผลงานวิชาการโดยการจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติปีละ 1 ครั้ง คือ การประชุมเสนอผลงานวิจัยด้านการจัดการธุรกิจ: BMRC และ International Business Management Research Conference (IBMRC) การประชุมระดับชาติได้เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2551 และระดับนานาชาติ เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2554 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน และมีการให้รางวัลเพื่อกระตุ้นการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการของบุคลากร
- เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงในด้านการทำวิจัย โดยร่วมมือกับนักวิชาการไทยในต่างประเทศเพื่อความร่วมมือทางวิชาการด้านบริหารธุรกิจในโครงการ ATPAC
- จัดตั้งเครือข่ายเครือข่ายสถาบันการศึกษาแห่งภูมิภาคด้านบริหารธุรกิจ (Thailand Regional Business Schools Network : TRBS NET) ร่วมกับ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและการทำวิจัยร่วมกัน
- จัดให้มีการประเมินผลงานวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้ผลงานวิจัยมีคุณภาพและบุคลากรได้พัฒนางานวิจัย