FAQ (Frequently Asked Questions)
ชุดข้อมูล (dataset) 1 ชุด สามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับตีพิมพ์มากกว่า 1 งานตีพิมพ์ได้ โดยนักวิจัยต้องปฏิบัติดังนี้ :
- นักวิจัยต้องแจ้งบรรณาธิการของวารสารที่ต้องการจะตีพิมพ์
- เกณฑ์เพื่อพิจารณาว่างานวิจัยที่ใช้ dataset ชุดเดิมกับผลงานที่พิมพ์ที่เคยมีมาก่อนนั้น สามารถตีพิมพ์เป็นผลงานใหม่ได้มี 3 ข้อดังนี้
1. คำถามงานวิจัยใหม่ 2. ใช้ทฤษฎีใหม่ 3. มีชุดข้อมูลใหม่เพิ่มเติมจากชุดข้อมูลเดิม - แนบผลงานตีพิมพ์ที่ใช้ dataset ชุดเดียวกันนี้ไปยังกองบรรณาธิการของวารสารที่นักวิจัยประสงค์ที่จะตีพิมพ์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
- สามารถทำได้ จากมุมมองที่ว่า หาก DV ไม่เหมือนกัน ก็น่าจะเป็นการสร้างทฤษฎีใหม่ ทำให้เกิดความรู้ใหม่
- มีหลายกรณีที่ตัวแปร IV, DV เหมือนกัน แต่ผลงานตีพิมพ์แรกเป็นตัวแปรเป็นแบบ mediator แต่ในผลงานตีพิมพ์ที่สองตัวแปรเป็น moderator และผู้ประพันธ์ได้เขียน Cover letter ชี้แจงให้กองบรรณาธิการทราบแล้วว่าสองผลงานนี้มีความต่างกัน อย่างไรจากประสบการณ์ของกองบรรณาธิการ Academy of Management (AOM) กองบรรณาธิการมักจะปฏิเสธบทความประเภทนี้เนื่องจากcontribution ไม่เพียงพอ หรือ ผลงาน “เล็ก” เกินไป(ไม่ได้ปฏิเสธผลงานบนฐานว่าผิดจริยธรรม เนื่องจากนักวิจัยได้ทำการอธิบายให้กองบรรณาธิการทราบแล้ว)
- นักวิจัยจะต้องรายงานผลของงานวิจัยอย่างเที่ยงตรง ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่นอย่างถูกต้อง
- เมื่อมีการใช้ความรู้ และข้อมูลจากผู้อื่น นักวิจัยจะต้องอ้างถึงผู้เป็นเจ้าของความรู้ และเจ้าของข้อมูลเสมอ
- นักวิจัยต้องไม่ใช้ แนวคิด คำพูด วลี หรือ ประโยค จากงานวิจัยหรือวรรณกรรมอื่น แบบ “คำต่อคำ” (word for word) หากจะทำเช่นนั้นต้องใช้การ quote และมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องไม่ว่างานวิจัยหรือวรรณกรรมนั้น จะถูกตีพิมพ์หรือไม่ก็ตามทั้งนี้รวมถึงการอ้างถึงผลงานตนเองด้วย
- ผู้ประพันธ์ทุกคนรับผิดชอบร่วมกันหากพบว่างานวิจัยนั้นผิดจริยธรรมเรื่องการคัดลอกผลงาน
ผลงานตีพิมพ์ภาษาถิ่น (เช่น ภาษาไทย) ผู้วิจัยสามารถนำมาแปลเป็นภาษาสากล (เช่น ภาษาอังกฤษ) และตีพิมพ์เผยแพร่หากเห็นว่าผลงานนั้นมีประโยชน์ต่อผู้อ่านในวงกว้าง และจะสร้างคุณค่าให้กับวงวิชาการ แต่นักวิจัยต้องปฏิบัติตามกระบวนการต่อไปนี้:
- นักวิจัยจะต้องขออนุญาตวารสารที่ตีพิมพ์บทความ (ในภาษาถิ่น) ก่อนจะนำผลงานฉบับแปลไปเผยแพร่
- นักวิจัยต้องส่งบทความที่เคยตีพิมพ์เป็นภาษาถิ่นให้กับกองบรรณาธิการของวารสารที่จะตีพิมพ์เพื่อประกอบการพิจารณา
- นักวิจัยต้องชี้แจงประโยชน์ในการตีพิมพ์ผลงานที่ได้จากการแปลผลงานในภาษาถิ่นต่อกองบรรณาธิการของวารสารที่จะตีพิมพ์
การร้องเรียนต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ร้องเรียนสามารถเขียนหรือจัดทำด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นป็นผู้จัดทำแทนให้ โดยผู้ร้องเรียนมีการลงลายมือชื่อกำกับ
- ผู้ร้องเรียนต้องระบุชื่อ - สกุล ของผู้ถูกร้องเรียน พร้อมส่งมอบหลักฐานประกอบคำร้องเรียน ผ่านช่องทางอย่างเป็นทางการ ได้แก่ :
1)ระบบรับฟังเสียงลูกค้า Voice of Customer (VOC ) (link: https://cmu.to/dQsF0)
2) บันทึกข้อความ หรือหนังสือราชการส่งมายังงานบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์
- เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรมต่อผู้ถูกร้องเรียน ผู้ร้องเรียนต้องเปิดเผยตัวโดยระบุชื่อ สกุล ของตนในคำร้อง อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องเรียนสามารถร้องเรียนแบบนรินาม (anonymous) ได้ หากการร้องเรียนนั้นเข้าเงื่อนไข 3 ข้อต่อไปนี้ ครบทุกประการ:
- คณะกรรมการวิจัยพิจารณาแล้วเห็นว่าสมควรจะสืบสวน แม้ผู้ร้องเรียนประสงค์ที่จะไม่เปิดเผยตัวตน
- มีหลักฐานในการกระทำผิดอย่างชัดเจน
- ดุลแห่งอำนาจ (balance of power) ของผู้ร้องเรียนต่ำกว่าดุลแห่งอำนาจของผู้ถูกร้องเรียนอย่างชัดเจน (ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานของผู้ร้องเรียนได้)
- ผู้ประพันธ์อันดับแรก (first author) หมายถึง ผู้ที่มีชื่อในผลงานวิชาการเป็นชื่อแรกรับผิดชอบการทำผลงานวิชาการ และเขียนต้นฉบับ (manuscript) ชิ้นนั้นด้วยตนเอง
- ผู้มีส่วนสำคัญทางปัญญา (essentially intellectual contributor) หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทมีส่วนสำคัญทางปัญญา (essentially intellectual contribution) ด้วยความเชี่ยวชาญจำเพาะในสาขาวิชาของตนเอง และความรับผิดชอบสำคัญในการออกแบบการวิจัย (research design) หรือการออกแบบงานวิชาการนั้น ๆ รวมทั้ง วิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) สรุปผลและให้ข้อเสนอแนะ
- ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) หมายถึง บุคคลที่มีบทบาทและความรับผิดชอบในการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการ ให้เกิดการถ่ายทอดเป็นเรื่องราวแสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางวิชาการที่ประกอบด้วย การแสดงข้อมูล หลักฐาน ข้อคิดเห็น และประสบการณ์ รวมทั้งทำหน้าที่รับผิดชอบติดต่อกับบรรณาธิการ
- ชื่อผู้นิพนธ์หลัก หรือ ชื่อผู้ประพันธ์หลัก หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ประสานงานกับผู้อื่นที่มีชื่อในผลงาน ในการเตรียมต้นฉบับผลงานหรือการส่งต้นฉบับผลงานเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่กับสำนักพิมพ์ และประสานงานในการตอบข้อคำถามหรือข้อวิจารณ์ โดยในผลงานหรือในฐานข้อมูลมักจะมีสัญลักษณ์เพื่อแสดงว่าชื่อที่ปรากฏคือผู้นิพนธ์หลัก หรือ ชื่อผู้ประพันธ์หลัก หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เช่น เครื่องหมาย (*) หรือ สัญลักษณ์อีเมล์
- ชื่อผู้นิพนธ์อันดับแรก หรือ ผู้ประพันธ์อันดับแรก (first author) หมายถึง ผู้ที่ปรากฏชื่อเป็นคนแรกหรือชื่อแรกในผลงาน ในหลายสาขาถือว่าชื่อแรกเป็นผู้ที่มีส่วนมากที่สุดในผลงาน รับผิดชอบการทำผลงานและเขียนต้นฉบับผลงาน แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป
- ชื่อผู้นิพนธ์ร่วม หรือ ผู้ประพันธ์ร่วม (co-author) หมายถึง ผู้ที่มีชื่อในผลงาน ที่ไม่ใช่ชื่อผู้นิพนธ์หลัก หรือ ชื่อผู้นิพนธ์อันดับแรก
- ชื่อที่ละเลย (ghost author) หมายถึง ผู้ที่มีคุณสมบัติมีชื่อในผลงานแต่ไม่ได้ปรากฏชื่อในผลงาน ซึ่งอาจเป็นการสมยอม เช่น เป็นผู้รับจ้างทำงานวิจัย หรือ อาจเป็นการถูกขโมยผลงานโดยผู้ร่วมงานหรือผู้อื่น
- ชื่อรับเชิญ (gift author, guest author หรือ honorary author) หมายถึง ผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติในการมีชื่อในผลงานแต่ปรากฏชื่อในผลงาน เช่น อาจารย์อาวุโส หัวหน้าภาควิชา หัวหน้าหน่วยวิจัย นักวิจัยที่มีชื่อเสียง หรือเจ้าของเงินทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามเกณฑ์การมีชื่อในผลงาน
การขอรับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน สำหรับคณาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรในสังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถศึกษาการขอรับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยในมนุษย์ ด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ที่งานบริหารงานวิจัยไ้ดทำการรวบรวมไว้แล้วได้ที่นี่
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เวปไซต์ของ สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การระบุ บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นหลักฐานสำคัญที่จะมีผลต่อการพิจารณาผลงานทางวิชาการ
เพราะแสดงถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ โดยสามารถศึกษาข้อมูลตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ เวปไซต์ของ Sage’s CRediT and authorship criteria
คลังความรู้ (Knowledge Repository) / เอกสารดาวน์โหลด (Document Downloads)
การเบิกจ่ายโครงการวิจัยและบริการวิชาการ
การเบิกจ่ายโครงการวิจัยและบริการวิชาการ
ดาวน์โหลดเอกสารที่นี่ (Presentations)
แนวปฏิบัติสำหรับนักวิจัยและผู้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ
แนวทางปฏิบัตินักวิจัย24.05.66