การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง (Action Learning)

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ ตลอดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นเพื่อปรับไปสู่กลยุทธ์การสอนแบบใหม่ คณะได้ค้นพบว่าปัจจัยความสำเร็จของการเรียนรู้ คือ ผู้เรียนต้องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่รอป้อนความรู้จากผู้สอนในแบบที่ผู้เรียนอาจคุ้นเคยมาก่อน และ Action Learning ตอบโจทย์ดังกล่าว

Action Learning คืออะไร

Action learning เป็นการเรียนรู้ผ่านโครงการ ซึ่งเป็นโจทย์ปัญหาจริงที่สามารถทำสำเร็จได้ภายใน 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน

ทำไมคณะบริหารธุรกิจจึงนำ Action Learning มาใช้

คณะบริหารธุรกิจได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนมาเป็น action learning ก็เนื่องจาก

  1. คณะบริหารธุรกิจได้มีการออกแบบ learning goals และ learning outcomes และได้ค้นพบว่าวิธีการสอนแบบเดิมไม่สามารถสร้าง learning outcomes ที่ต้องการได้ จึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนมาเป็น action learning 
  2. คณะมีการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) และพบว่านายจ้างต้องการบัณฑิตที่พร้อมใช้ แต่สหกิจศึกษาไม่สามารถตอบโจทย์ได้ เพราะนักศึกษาจะต้องห่างจากบ้านและคณะไปทำงานในภาคเอกชนหลายเดือน ในขณะที่งานในจังหวัดเชียงใหม่ก็ไม่ได้ท้าทายเหมือนงานในกรุงเทพ ดังนั้น action learning จึงเป็นทางเลือกที่เข้ากับบริบทของจังหวัดเชียงใหม่
  3. Action learning นอกจากจะมีประสิทธิผลกับนักศึกษา ยังมีประสิทธิผลต่ออาจารย์และคุณสมบัติของอาจารย์ (Faculty Qualification) อีกด้วย เพราะอาจารย์ก็ได้รับประสบการณ์ ได้เรียนรู้พร้อมกับนักศึกษา อาจารย์จึงมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ที่จะก้าวขึ้นเป็นที่ปรึกษาให้แก่องค์กรธุรกิจต่อไป  
  4. Action learning สร้าง Innovation, Impact และ Engagement ให้กับคณะ กล่าวคือเป็น innovation ด้านการเรียนการสอนของคณะ ก่อให้เกิด impact แก่ธุรกิจ และสร้าง engagement ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาให้ความเห็น (Commentators) และเจ้าของธุรกิจที่ให้โจทย์ปัญหา (Hosts)
  5. Action learning ตรงกับความต้องการของนักศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษา Executive MBA ซึ่งมีความคาดหวังที่จะเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง 
  6. ผู้ใช้บัณฑิตหรือผู้จัดหางานต่างคาดหวังบัณฑิตที่พร้อมใช้ Action learning สามารถตอบโจทย์ในส่วนนี้ เพราะบัณฑิตจะได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะและประสบการณ์ด้านการทำงานเป็นทีม ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 
  7. คณะมีการปรับเปลี่ยนการแบ่งภาระงานของอาจารย์จากเดิมที่เป็น lecture มาเป็น action learning อย่างมีเหตุมีผล ทำให้ action learning แม้จะต้องใช้ความพยายามและความทุ่มเทของคณาจารย์มากขึ้น แต่ก็ได้รับการยอมรับจากคณาจารย์ของคณะ

Action Learning ช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ของนักศึกษา

Action Learning ช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ แก่นักศึกษา ดังนี้  

  1. ทักษะการทำงานเป็นทีม (Team Effectiveness) ได้แก่ Action Learning ของโครงการ Executive MBA Program หลักสูตรจะมอบหมายโครงการที่มีความท้าทายสูงให้แก่นักศึกษา ผู้ร่วมทีมจะมีปัญหาความขัดแย้ง เพราะความยากและแรงกดดันของเวลา แต่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากความขัดแย้ง เพื่อเป็นบ่อเกิดแห่งการพัฒนา ผู้เรียนต้องพยายามทำงานให้ลุล่วงตามกรอบเวลา ก้าวข้ามความขัดแย้งเพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วมของทีม
  2. ทักษะการวิเคราะห์ (Analytical Skill) ได้แก่ Action Learning ของภาควิชาการบัญชี ที่ผู้เรียนต้องประยุกต์ใช้ทฤษฎี เครื่องมือ และกรอบแนวคิดต่าง ๆ เข้าไปแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีขององค์กรและชุมชน 
  3. การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ได้แก่ Action Learning ของภาควิชาการจัดการและการเป็นเป็นผู้ประกอบการ ผู้เรียนจะมีโอกาสประกอบธุรกิจจริงและจะต้องทำให้บรรลุเป้าหมายทางการตลาดและการเงินภายในเวลาที่กำหนด โครงการนี้ทำให้ผู้เรียนเห็นกระบวนการพัฒนาธุรกิจจากจุดเริ่มต้นการคิดถึงการทำกำไร/ขาดทุนอย่างครบวงจร 
  4. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) เช่น Action Learning ของภาควิชาการเงิน ผู้เรียนจะต้องนำเทคโนโลยีทางการเงินมาสร้างสรรค์เพื่อเกิดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ในรูปแบบของนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ทั้งมูลค่าทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม 

หัวใจของความสำเร็จของ Action Learning

หัวใจความสำเร็จของ Action Learning ของคณะบริหารธุรกิจ อยู่ที่ความสมดุลระหว่างการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน การสั่งสมความรู้เชิงวิชาการ และการลงมือปฏิบัติ กระบวนการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่ไม่ใช่เพียงการสอบ และการนำผลลัพธ์มาปรับปรุงกลยุทธ์การสอนอย่างต่อเนื่อง ผลสัมฤทธิ์แห่งการเรียนรู้ในตัวผู้เรียนจะเกิดขึ้นได้จริงจากการออกแบบ ไม่ใช่เพราะความบังเอิญ (By Design, Not by Chance)

การจัดการเรียนการสอนแบบ Action Learning ของคณะบริหารธุรกิจ ที่บูรณาการเชื่อมโยงการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ มุ่งเน้นการสร้างผลกระทบเชิงบวก Teaching & Societal Impact

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหาร (Ex-M.B.A) จัดสัมมนาการเรียนรู้จากการปฎิบัติ Action Learning “CMUBS Ex-M.B.A. Action Learning Symposium” โดยนำเสนอผลงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6 องค์กร โดยได้รับเกียรติจาก คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองกรรมการผู้อำนวยการ สำนักกิจการองค์กร บริษัท บีอีซี เวิล์ด จำกัด (มหาชน), คุณฐิติ บุญประกอบ ที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม, รองศาสตราจารย์กิตติ สิริพัลลภ  อาจารย์ประจำ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.วัลลภัช แก้วอำไพ Chief Strategy Officer บริษัท เจี่ยไต๋ จำกัด ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำในการนำเสนอครั้งนี้ ในวันที่ 19 มีนาคม 2565 ณ โรงแรมเลอเมอริเดียน จังหวัดเชียงใหม่

EII Summary for 1 year period – AY2021-2022 (ปีการศึกษา 2564)

Chiang Mai University Business School (CMUBS), Chiang Mai University

Engagement, Innovation, and Impacts for 1 year period – AY2021-2022 (ข้อมูลรอบปีการศึกษา 2564)

Chiang Mai University Business School (CMUBS), Chiang Mai University

ติดต่อเรา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า