ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ
Bachelor of Accountancy Program
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
บัญชีบัณฑิต
บช.บ.
ภาษาอังกฤษ
Bachelor of Accountancy
B.Acc.
ลักษณะของหลักสูตร
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการบัญชีควบคู่กับทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้มีคุณธรรมและจิตสำนึกต่อสังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- มีความรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพบัญชี ตรงตามความต้องการของธุรกิจ
- เป็นผู้มีทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เป็นวิกฤตด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
- เป็นผู้ที่มีความรู้รอบที่นำไปสู่การดำรงตนในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถใช้ความรู้รอบ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการได้อย่างเหมาะสม
- เป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตอาสา
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 : ไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
- หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
- เมื่อนักศึกษาเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 จะยังไม่มีการแยกสาขาวิชาเอก นักศึกษาจะเลือกและเข้าสาขาวิชาเอกการบัญชี เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษาที่ 2 ชั้นปีที่ 1 โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกาศคณะบริหารธุรกิจ
- หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 : ไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้มีวิชาโท
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 : กำหนดให้มีวิชาโท ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology) หรือสาขาวิทยาการข้อมูล (Data science)
วัน-เวลาในการเรียน
ภาคปกติ
- วันจันทร์-ศุกร์ ในเวลาราชการ
ภาคพิเศษ
- วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16:30-19:30 น.
- วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09:00-16:00 น.
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า โดยมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับมหาวิทยาลัย
- ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่คณะและ/หรือสาขาวิชากำหนด
โครงสร้างหลักสูตร
⇒ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 (ใช้สำหรับนักศึกษารหัส 63-67)
⇒ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2568 (ใช้สำหรับนักศึกษารหัส 68-72)
ลักษณะงานหลังสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพบัญชี ได้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ .ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ .ศ. 2547 และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งในลักษณะของการประกอบวิชาชีพอิสระ และการเข้าทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังต่อไปนี้
- ด้านการทำบัญชี
- ด้านการสอบบัญชี
- ด้านบัญชีบริหาร
- ด้านการภาษีอากร
- ด้านการวางระบบบัญชี
- ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีทางการบัญชี
- ด้านการตรวจสอบภายใน
- ด้านการให้คำปรึกษาทางการเงินและบัญชี