หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Business Administration Program

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย

บริหารธุรกิจบัณฑิต
บธ.บ.

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Business Administration
B.B.A.

ปรัชญาและความสำคัญ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยความเชี่ยวชาญด้านการเงิน การตลาด การจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ด้านบริหารธุรกิจตามแนวทางความรู้ระดับสากล สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากหลักสูตรเพื่อการบริหารธุรกิจในบริบทที่หลากหลาย เป็นผู้มีความสามารถรอบรู้ด้านวิชาการ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ภาษา และสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ เพื่อนำไปใช้ติดตาม แก้ไขปัญหาทางธุรกิจ หรือวิกฤตในระบบเศรษฐกิจได้ หลักสูตรนี้ยังมุ่งสร้างบัณฑิตให้มีทักษะการเรียนรู้และการคิดในเชิงบูรณาการความรู้ในศาสตร์ด้านต่างๆ  และใฝ่การเรียนรู้ บัณฑิตที่สำเร็จจากหลักสูตรจะเป็นผู้ที่มีมุมมองทางบวก มีความคิดสร้างสรรค์ ความมั่นคงในตนเอง เข้าใจและซึมซับในบริบทของไทย มองเห็นประโยชน์โดยส่วนรวม มีจิตอาสา เปี่ยมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตที่

  1. มีความรู้ทางวิชาการของหลักการบริหารธุรกิจที่เป็นสากล ทันสมัยต่อเหตุการณ์และเหมาะสมกับสังคมไทย
  2.  มีความรู้รอบในวิชาการซึ่งนำไปสู่การบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นสากล เช่น มีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ภาษา เป็นต้น
  3. เป็นผู้มีทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เป็นวิกฤตด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ
  4.  เป็นผู้มีความรู้รอบที่นำไปสู่การดำรงตนในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถใช้ความรู้รอบ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการได้อย่างเหมาะสม
  5.  เป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตอาสา

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตปี พ.ศ 2563 (138 หน่วยกิต)

รูปแบบของหลักสูตร

  • หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปีนักศึกษาเลือกสาขาวิชาการเงิน การตลาด และการจัดการเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษาที่ 2 ชั้นปีที่ 1

วัน-เวลาในการเรียน

ภาคปกติ

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8:00-16:30 น. 

ภาคพิเศษ

วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 16:30-19:30 น.

วันเสาร์ เวลา 9:00-16:00 น.

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า โดยมีคุณสมบัติเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับมหาวิทยาลัย
  2. ผ่านการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่คณะและ/หรือสาขาวิชากำหนด

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

สามารถประกอบอาชีพในสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กองทุนประเภทต่าง ๆ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทประกันภัย บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทที่ปรึกษาการเงินขององค์กรธุรกิจ ตลาดหลักทรัพย์  โดยสามารถทำงานเป็นผู้วิเคราะห์ทางการเงิน วาณิชธนกรที่เป็นผู้วิเคราะห์การนำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์ การควบรวมกิจการ การวิเคราะห์เพื่อวางแผนการระดมทุน ผู้วิเคราะห์สินเชื่อ  ผู้จัดการการลงทุน ผู้วางแผนหรือแนะนำการลงทุน ผู้วิเคราะห์สินเชื่อ  ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาการเงินสามารถทำงานในบริษัทหรือองค์กรธุรกิจเอกชน องค์กรของรัฐ ที่มีหน่วยงานด้านการเงินในองค์กร นอกจากนั้นยังสามารถทำงานนักวางแผนการเงินอิสระเพื่อให้ความรู้กับคนทั่วไปในด้านการเงิน หรือการลงทุน

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร

ติดต่อเรา