หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน
(M.Sc. Finance)
ภาพรวมของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน มุ่งเน้นการสร้างบุคลากรทางการเงินที่มีคุณภาพมีความพร้อมในด้านความรู้ในศาสตร์ รวมถึงมีศักยภาพในการพัฒนาตนเองที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรู้และรับกับนวัตกรรมใหม่ เพื่อเสริมและขยายศักยภาพด้านการบรรลุเป้าหมายขององค์กร รวมทั้งการแก้ปัญหาทางการเงิน นอกจากนั้นยังมุ่งหวังให้มหาบัณฑิตมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในสาขาอาชีพ รวมถึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย
Hybrid Learning: อยู่ที่ไหนก็เรียนได้
ในปี 2565 หลักสูตรฯ เล็งเห็นว่าแนวโน้มในการจัดการเรียนการสอนในอนาคต สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้หลากหลาย โดยต้องสามารถจัดการเรียนการสอนได้ท้ังในรูปแบบช้ันเรียน Onsite ควบคู่กับรูปแบบ Online ซึ่งผู้สอนต้องสามารถถ่ายทอดความรู้ผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่จํากัดแค่การเรียนรู้ภายในห้องเรียน ผู้เรียนทั้ง 2 ระบบสามารถปฎิสัมพันธ์แบบ 2 ทางกับอาจารย์ผู้สอนผ่านระบบเทคโนโลยี ที่สะดวกและทันสมัยตอบสนองการจัดการศึกษาในรูปแบบดังกล่าวได้ ดังน้ัน หลักสูตรฯ จึงจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน Hybrid
เริ่มเรียน
- ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม ของทุกปี
- ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนพฤศจิกายน - เดือนมีนาคม ของทุกปี
- ภาคฤดูร้อน เดือนเมษายน - เดือนพฤษภาคม ของทุกปี
หลักสูตรเปิดสอน 3 รูปแบบ
คุณสมบัติในการเข้าศึกษา
- มีคุณสมบัติด้านการศึกษา หรือประสบการณ์ทํางาน ดังนี้
1.1 สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการเงิน หรือ สาขาเศรษฐศาสตร์ หรือ สาขาการ บัญชี หรือ
1.2 สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อื่น โดยเรียนวิชาการเงินมาแล้วไม่ต่ํากว่า 15 หน่วยกิต หรือ
1.3 สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอื่น ๆ มีประสบการณ์เกี่ยวกับด้านบัญชีหรือ การเงินมาไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ
1.4 มีใบอนุญาติประกอบวิชาชีพทางการเงิน เช่น CFA (Certified Financial Analyst), CFP (Certified Financial Planner),FRM (Financial Risk Manager)
1.5 โครงร่างวิจัย 500-900 คำ เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ โดยโครงร่างวิจัยต้องประกอบด้วย
- หัวข้องานวิจัย
- วัตถุประสงค์งานวิจัย
- ที่มาและความสำคัญของงานวิจัย
- วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1.6 คุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรประจำสาขาวิชาการเงิน
- สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสํานักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
- มีลําดับขั้นเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ต้ังแต่ 2.00 ขึ้นไป
- เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือสัญชาติอื่นที่สามารถศึกษาในหลักสูตรซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
- สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสํานักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
- มีลําดับขั้นเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ต้ังแต่ 2.00 ขึ้นไป
- เป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือสัญชาติอื่นที่สามารถศึกษาในหลักสูตรซึ่งจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
- เหมาจ่าย เทอมละ 50,000 บาท
- 2 ปีการศึกษา 200,000 บาท
- เมื่อครบ 2 ปีการศึกษา หากยังไม่สำเร็จการศึกษา เทอมละ 10,000 บาท ภาคฤดูร้อน 8,000 บาท
อาชีพหลังสําเร็จการศึกษา
- เจ้าหน้าที่ในสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์จัดการ
- เจ้าหน้าที่การเงินในองค์กรธุรกิจ
- ที่ปรึกษาทางด้านการเงินส่วนบุคคล
- ที่ปรึกษาทางด้านการลงทุน
- นักวิชาการทางการเงิน
- นักวิเคราะห์ทางการเงิน
- อาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน
- งานด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
นางสาวสโรชินี ศิลปานันทกุล
Ms.Sarochinee Sinlapanantakul
E-mail mscfinance-bs@cmu.ac.th Tel. 0 5394 2143, 09 1859 1918